วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 29, 2558

สายตรวจเทศกิจ 253 ว.4

สายตรวจเทศกิจ 253 ว.4 
ประชาสัมพันธ์ และออกหนังสือว่ากล่าวตักเตือนให้ผู้ค้าและผู้ประกอบการ
ถนนสุคนธสวัสดิ์เก็บวัสดุอุปกรณ์การหลังการค้าและให้ผู้ค้าร้านอาหารถนนสุคนธสวัสดิ์ 23
และ 25 ตรงข้าม หน้า ร.ร. โชคชัย ครูเกียว ร้ือแผงกันสาดออกและเก็บอุปกรณ์การค้าหลัง
การค้ารวมทั้งม้านั่งออกจากบนทางเท้า (กันสาดอยู่ระหว่างดำเนินการรื้อถอนให้เสร็จ
ภายในวันเสาร์) รวมทั้งสิ้น จำนวน 4? ราย และจัดเก็บป้ายโฆษณามิได้รับอนุญาต 
ถนนสุคนธสวัสดิ์


วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 22, 2558

วันปิยะมหาราช


วันที่ ๒๓ ตุลาคม วันปิยมหาราช

         วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว 
รัชกาลที่ ๕ พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย พระราชกรณียกิจของพระองค์
ไม่ว่าจะเป็นการ
เลิกทาส การพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสาธารณูปการ
การเจริญสัมพันธ
ไมตรีกับนานาประเทศ ฯลฯ ล้วนเป็นพื้นฐานแห่งความเจริญสืบต่อมาจนปัจจุบัน
         พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ คือการประกาศ
เลิกทาสทำให้ปวงชนชาวไทยได้เป็นไทมาจวบจนทุกวันนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ สยามประเทศได้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข 
โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชนทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดง
ความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า"พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง และกำหนดให้ทุกวันที่ 
๒๓ ตุลาคมเป็นวันปิยมหาราช

ความเป็นมาของ วันปิยมหาราช
   เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง 
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
พระราชวังดุสิต
   เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ทรงมี

พระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุก
หมู่เหล่า ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทางราชการได้ประกาศให้
วันที่ ๒๓ ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของ
ชาติ
เรียกว่า "วันปิยมหาราช" และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น 
"กรุงเทพมหานคร" ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็น "สำนักพระราชวัง" ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ 
ตั้งราชวัติฉัตร ๕ ชั้น ประดับโคมไฟ ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึง
ปัจจุบัน 


               พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพ
เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ
พระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี) เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับ
สถาปนาขึ้นเป็น "กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ" ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น 
"กรมขุนพินิตประชานาถ" บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ ทรงพระนามว่า 
"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

              เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง ๑๖ ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ 

(ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรส
องค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

              ระหว่างที่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ 

ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี 
ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม

              ในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา ๒ ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย ๑ ครั้ง การเสด็จประพาส

นี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมือง
ขึ้นของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทยให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม 
การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืน และนั่งตามโอกาสสมควร ไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน

              เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ได้ทรงผนวชเป็นเวลา ๒ สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรม

ราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๖ และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาด
ในการบริหารราชการแผ่นดิน

           ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่งคั่งสมบูรณ์ 

ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญ
พระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรง
เอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้

              พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ รวมพระชนมายุได้

 ๕๘ พรรษา ครองราชสมบัติมานานถึง ๔๒ ปี

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิเช่น

๑. การเลิกทาส

เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" 

ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่า มีทาสในแผ่นดินเป็นจำนวนมาก และลูกทาสในเรือนเบี้ยจะสืบต่อการเป็นทาสไปจน
รุ่น
ลูกรุ่นหลานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต
พระองค์จึงทรงมีพระทัยแน่วแน่ว่า
จะต้องเลิกทาสให้สำเร็จ แม้จะเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะทาส
มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ อีกทั้งเจ้านายที่เป็นใหญ่ใน
สมัยนั้นมักมีข้ารับใช้ เมื่อไม่มีทาส บุคคลเหล่า
นี้อาจจะไม่พอใจและก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นเหมือนกับที่เกิดขึ้น
ในต่างประเทศมาแล้ว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๗
ให้มีผลย้อนหลัง
ไปถึงปีที่พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ มีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง
พ.ศ. ๒๔๑๑ ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัว
ทุกปี และพอครบอายุ ๒๑ ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชาย
และหญิง จากนั้นใน พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงได้ออกพระราช
บัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า
"พระราชบัญญัติทาส ร.ศ. ๑๒๔" (พ.ศ. ๒๔๔๘) เลิกลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่าง
เด็ดขาด เด็กที่เกิด
จากทาส ไม่ต้องเป็นทาสอีกต่อไป และการซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่
แล้ว ให้จ่ายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ ๔ บาท จนกว่าจะหมดด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน
ในเวลาเพียง ๓๐ ปีเศษ ทาสในเมืองไทยก็หมดไปโดยไม่เกิดการนองเลือด

เหมือนกับประเทศอื่นๆ

๒. การปฏิรูประบบราชการ

      ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบ
การปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกัน
จากเดิมมี ๖ กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงลาโหม, กระทรวงนครบาล, กระทรวงวัง,
กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตราธิการ ได้เพิ่มอีก ๔ กระทรวง รวมเป็น ๑๐ กระทรวง ได้แก่
กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ และการศึกษา กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่
ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่างๆ กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง
การทำถนน ขุดลอกคูคลอง งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง และกระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแล
งานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ


๓. การสาธารณูปโภค

      การประปา ทรงให้กักเก็บน้ำจากแม่น้ำเชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี และขุดคลองเพื่อส่งน้ำเข้ามา
ยังสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำประปาขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๒

การคมนาคม วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราช
ดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา แต่ทรงเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ
-พระนครศรีอยุธยาก่อน จึงนับว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นทางรถไฟแห่งแรกของไทย


นอกจากนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพาน และถนนอีกมากมาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง
ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น และโปรดให้ขุดคลองต่างๆ เพื่อใช้
เป็นแนวทางคมนาคม และส่งเสริม การเพาะปลูก 
การสาธารณสุข เนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้าน
ไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๒๐๐ ชั่ง โปรดเกล้าฯ ให้
สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศิริราช" เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้ง
แรกเมื่อ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๑ 
การไฟฟ้า พระองค์ทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่งาน
ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนครั้งแรกเมื่อปี
พ.ศ. ๒๔๓๓ 
การไปรษณีย์ โปรดให้เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ รวมอยู่ในกรมโทรเลข ซึ่งได้จัดขึ้นตั้งแต่
พ.ศ. ๒๔๑๒ โดยโทรเลขสายแรกคือ ระหว่างจังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) กับจังหวัดสมุทรปราการ

๔. การเสด็จประพาส

      การเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอันหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยหลังจากเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้เสด็จประพาสยุโรป ๒ ครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ครั้งหนึ่ง
และในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ในยุโรป ตลอดจนประเทศ
ฝรั่งเศสด้วย อีกทั้งยังได้ทรงเลือกสรรเอาแบบแผนขนบธรรมเนียมอันดีในดินแดนเหล่านั้นมาปรับปรุงใน
ประเทศให้เจริญขึ้น
ในการเสด็จประพาสครั้งแรกนี้ ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาตลอดระยะทางถึงสมเด็จ
พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี)
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชหัตถเลขา นี้ต่อมาได้รวมเป็นหนังสือเล่มชื่อ "พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน"
ให้ความรู้อย่างมากมายเกี่ยวแก่สถานที่ต่างๆ ที่เสด็จไป
ส่วนภายในประเทศ ก็ทรงถือว่าการเสด็จประพาสใน
ที่ต่างๆ เป็นการตรวจตราสารทุกข์สุขดิบของราษฎรได้เป็นอย่างดี พระองค์จึงได้ทรงปลอมแปลงพระองค์
ไปกับเจ้านายและข้าราชการ โดยเสด็จฯ ทางเรือมาดแจวไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ เพื่อแวะเยี่ยมเยียน
ตามบ้านราษฎร ซึ่งเรียกกันว่า "ประพาสต้น" ซึ่งได้เสด็จ ๒ ครั้ง คือในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ และในปี
พ.ศ. ๒๔๔๙ อีกครั้งหนึ่ง


5.การศึกษา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงโปรดให้สร้างโรงเรียน
หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ "โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพระ
ตำหนักสวนกุหลาบ" ต่อมาโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก คือ
"โรงเรียนวัดมหรรณพาราม" และในที่สุดได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕
(ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาและการศาสนา

๖. การปกป้องประเทศจากการสงครามและเสียดินแดน

เนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมได้แผ่อิทธิพลเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ปรีชาสามารถอย่างสุดพระกำลังที่จะรักษาประเทศชาติ
ให้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์ ถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนบางส่วนไปก็ตาม โดยดินแดนที่ต้องเสียให้กับ
ต่างชาติ ได้แก่
พ.ศ. ๒๔๓๑ เสียดินแดนในแคว้นสิบสองจุไทย
พ.ศ. ๒๔๓๖ เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ให้ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีไว้
พ.ศ. ๒๔๔๗ เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี แต่ฝรั่งเศสได้ยึดตราด
ไว้แทน พ.ศ. ๒๔๔๙ เสียดินแดนที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับตราด
และเกาะทั้งหลายแต่การเสียดินแดนครั้งสุดท้ายนี้ไทยก็ได้ประโยชน์อยู่บ้าง คือฝรั่งเศสยอมยกเลิกสิทธิส
ภาพนอกอาณาเขต ยอมให้ศาลไทยมีสิทธิที่จะชำระคดีใดๆ ที่เกิดขึ้นแก่ชาวฝรั่งเศส ไม่ต้องไปขึ้นศาลกงสุล
เหมือนแต่ก่อนส่วนทางด้านอังกฤษ ประเทศไทยได้เปิดการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ รวมถึงเรื่องสิทธิสภาพ
นอกอาณาเขตด้วย ใน พ.ศ. ๒๔๕๔ อังกฤษจึงยอมตกลงให้ชาวอังกฤษ หรือคนในบังคับอังกฤษมาขึ้นศาลไทย
และยอมให้ไทยกู้เงินจากอังกฤษ เพื่อนำมาใช้สร้างทางรถไฟสายใต้จากกรุงเทพฯ ถึงสิงคโปร์ เพื่อตอบแทน
ประโยชน์ที่อังกฤษเอื้อเฟื้อ
ทางฝ่ายไทยยอมยกรัฐกลันตัน ตรังกานูและไทยบุรี ให้แก่สหรัฐมลายูของอังกฤษ

ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น

พ.ศ. ๒๔๑๑ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
พ.ศ. ๒๔๑๒ ทรงโปรดเกล้าให้สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์
พ.ศ. ๒๔๑๓ เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา โปรดฯ ให้ยกเลิกการไว้ผมทรงมหาดไทย
พ.ศ. ๒๔๑๕ ทรงปรับปรุงการทหารครั้งใหญ่ โปรดให้ใช้เสื้อราชปะแตน โปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงสอน
ภาษาอังกฤษแห่งแรกขึ้นในพระบรมหาราชวัง
พ.ศ. ๒๔๑๖ทรงออกผนวชตามโบราณราชประเพณี โปรดให้เลิกประเพณีหมอบคลานในเวลาเข้าเฝ้า
พ.ศ. ๒๔๑๗โปรดให้สร้างสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ตั้งโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (ปัจจุบันคือ
โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) และให้ใช้อัฐกระดาษแทนเหรียญทองแดง
พ.ศ. ๒๔๒๔ เริ่มทดลองใช้โทรศัพท์ครั้งแรก เป็นสายระหว่างกรุงเทพฯ–สมุทรปราการ สมโภชพระนคร
ครบ ๑๐๐ ปี มีการฉลอง ๗ วัน ๗ คืน
พ.ศ.๒๔๒๖ โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์ เริ่มบริการไปรษณีย์ในพระนคร ตั้งกรมโทรเลข และเกิดสงคราม
ปราบฮ่อครั้งที่ ๗
พ.ศ. ๒๔๒๗ โปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนราษฎร์ทั่วไปตามวัด โรงเรียนแห่งแรกคือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
พ.ศ. ๒๔๒๙ โปรดฯ ให้เลิกตำแหน่งมหาอุปราช ทรงประกาศตั้งตำแหน่งมกุฏราชกุมารขึ้นแทน
พ.ศ. ๒๔๓๑ เสียดินแดนแคว้นสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศส เริ่มการทดลองปกครองส่วนกลางใหม่
เปิดโรงพยาบาลศิริราช โปรดฯให้เลิกรัตนโกสินทร์ศก โดยใช้พุทธศักราชแทน
พ.ศ. ๒๔๓๔ ตั้งกระทรวงยุติธรรม ตั้งกรมรถไฟ เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา
พ.ศ. ๒๔๓๖ ทรงเปิดเดินรถไฟสายเอกชน ระหว่างกรุงเทพฯ-ปากน้ำ กำเนิดสภาอุนาโลมแดง (สภากาชาดไทย)
พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก
พ.ศ. ๒๔๔๕ เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส
พ.ศ. ๒๔๔๘ ตราพระราชบัญญัติยกเลิกการมีทาสโดยสิ้นเชิง
พ.ศ. ๒๔๕๑ เปิดพระบรมรูปทรงม้า
พ.ศ. ๒๔๕๓ เสด็จสวรรคต
      ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกปี หน่วยงานต่างๆ ทั้งราชการและภาคเอกชน นักเรียน-นิสิตนักศึกษา รวมทั้ง
ประชาชนจะมาวางพวงมาลาดอกไม้สักการะ และถวายบังคมที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึง
พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทำบุญตักบาตอุทิศเป็นพระราชกุศล
แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ในหน่วยงาน และโรงเรียน มหาวิทยาลัย จะจัดนิทรรศการ
เผยแพร่พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นการประกาศ
เกียรติคุณให้ไพศาลสืบไป

วันศุกร์, ตุลาคม 16, 2558

นโยบายมหานครปลอดภัย ปลอดโรคคนเมืองอาหารปลอดภัย


 นายพินิต อารยะศิลปธร ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตลาดพร้าว

ตรวจเยื่ยมให้กำลังใจการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลและเจ้าหน้าที่ทหาร ร.1 พัน2 รอ. ในการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารเจ และผักสด ผลไม้ เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในช่วงเทศกาลกินเจ พร้อมทั้งตรวจด้านสุขลักษณะตามมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร ตามโครงการกรุงเทพเมืองอาหารปลอดภัย ณ ตลาดฉัตรสาคร สถานที่จำหน่ายอาหาร ห้างสรรพสินค้า และร้านอาหารริมบาทวิถี